เมนู

ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภาวนาปธานเป็นไฉน. ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัดอาศัยความคลาย
กำหนัด อาศัยความดับ น้อมไปเพื่อความสละลง. ย่อมเจริญธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์. ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์. ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์.
ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์. ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัย
ความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความ
สละลงนี้เรียกว่า ภาวนาปธาน.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อนุรักขนาปธานเป็นไฉน ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ ย่อมตามรักษาสมาธินิมิต อันเจริญที่เกิดขึ้นแล้ว คือ อัฏฐิกสัญญา
ปุฬวกสัญญา วินีลกสัญญา วิจฉิททกสัญญา อุทธุมาตกสัญญา นี้เรียกว่า
อนุรักขนาปธาน.

[239] ญาณ 4


1. ธัมมญาณ ความรู้ในธรรม
2. อันวยญาณ ความรู้ในการคล้อยตาม
3. ปริจเฉทญาณ ความรู้ในการกำหนด
4. สัมมติญาณ ความรู้ในสมมติ.

ญาณอีก 4


1. ทุกขญาณ ความรู้ในทุกข์
2. ทุกขสมุทยญาณ ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์
3. ทุกขนิโรธญาณ ความรู้ในการดับทุกข์
4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ ความรู้ในการปฏิบัติให้ถึงความ
ดับทุกข์